วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ยางรถยนต์แตกขณะขับขี่ควรทำอย่างไร


ยางรถยนต์แตกขณะขับขี่ควรทำอย่างไร
ในการใช้รถยนต์บนท้องถนนนั้น มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่รถยนต์  จะประสบอุบัติเหตุยางแตกกะทันหัน  ทั้งนี้เกิดได้หลายปัจจัยอาทิ  ยางรถยนต์หมดสภาพเนื่องจากใช้มาหลายปี ( ไม่เปลี่ยน)  โดนวัสดุทิ่มแทง  เมื่อยางแตกกะทันหัน อันดับแรกต้องควบคุมสติให้ดี  และปฏิบัติดังนี้   
เมื่อรถยางแตกขณะขับรถ มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้
1. ใช้มือทั้งสองข้างจับพวงมาลัยให้แน่นและมั่นคงควบคุมทิศทางรถยนต์
2. ถอนคันเร่งออก ลดความเร็ว
3. ควบคุมสติให้ดีอย่าตกใจ มองกระจกส่องหลังเพื่อให้ทราบว่ามีรถคันหลังตามมาติดๆ หรือไม่
4. แตะเบรกอย่างเบาและค่อยๆเลียเบรก อย่าแตะแรงๆ  เพราะอาจจะทำให้รถหมุน
5. ห้ามเหยียบคลัตช์โดยเด็ดขาดเพราะการเหยียบคลัตช์ จะทำให้รถยนต์เคลื่อนที่เร็วขึ้น เนื่องจากแรงเฉื่อยจากการขับขี่  ดังนั้นการลดความเร็วของรถที่ดีที่สุด  คือการใช้เครื่องยนต์ช่วยลดความเร็วลงโดยการถอนคันเร่งโดยไม่ต้องเหยียบคลัตช์
6. ไม่ควรดึงเบรกมืออย่างเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้รถหมุนตัวได้
7ให้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย และเข้าจอดข้างทาง
หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน
1. กองบังคับการตำรวจจราจร 197
2. กองบังคับการกองปราบปราม 195, 513-3844, 225-0085
3. กองบังคับการตำรวจดับเพลิง 199, 246-0199
4. ศูนย์ปราบปราม กรมตำรวจ (รถยนต์หาย) 205-2590-3
5. ตำรวจทางหลวง 193
6. ตำรวจท่องเที่ยว 169, 1155
7. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ตำรวจทางหลวง 245-5277
8. ศูนย์ตำรวจนครบาลเหนือ 246-0999
9. ศูนย์ตำรวจนครบาลธนบุรี 246-0088-9
10. ศูนย์บริการข่าวสารท่องเที่ยว 280-1305
11. ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว 281-5051, 282-8129
12. ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุเร่งด่วน 246-0052
13. แจ้งเหตุด่วน เหตุร้าย 191, 246-1338-42
14. บริการข่าวสารจราจร 1644
15. จส.100 ( FM 100.0 Mhz.) 711-9145
16. สวพ.91 ( FM 91.0 Mhz.) 1644, 562-0033-4
17. วิทยุชุมชน ร่วมด้วยช่วยกัน ( FM 96.0 Mhz.) 644-6996
18. สอบถามเด็กหาย 282-1815, 282-3892-3
19. กุญแจรถยนต์หาย 275-4343, 276-3367
20. ศูนย์ดับเพลิงศรีอยุธยา 199, 246-0199
21. ศูนย์ส่งกลับ และรถพยาบาลกรมตำรวจ 255-1133-6, 255-9913-6
-->

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น