วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

พื้นฐานเรื่องเครื่องยนต์ที่ควรรู้

-->
พื้นฐานเรื่องเครื่องยนต์ที่ควรรู้
ปัจจุบันปริมาณรถยนต์ตามถนนสายต่างๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร และปริมลฑล ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว สืบเนื่องจาก รัฐบาลมีนโยบายคืนภาษีรถคันแรกเห็นได้จากรายงานของกรมการขนส่งทางบกที่ระบุว่า รถใหม่เข้าจดทะเบียน จำนวนมากเฉลี่ยเดือนละ 50,000 คัน จากปกติมีรถใหม่จดทะเบียนเฉลี่ยเดือนละ 20,000 คัน
                แต่อย่างไรก็ตาม รถใหม่ เจ้าของรถก็คงต้องเป็นมือใหม่  บทความนี้จะขอกล่าวถึง พื้นฐานเรื่องเครื่องยนต์ที่ควรรู้  เพราะมีผู้คนไม่น้อยที่มีรถ แต่ยังไม่เข้าใจในเรื่องของรถอย่างถ่องแท้  คำว่า ซีซี. ของเครื่องยนต์ในรถยนต์นั้น  ซึ่งเป็นหน่วยในการวัดปริมาตรความจุของกระบอกลูกสูบของเครื่องยนต์ ซีซี.= คิวบิกเซนติเมตร ในยุคที่ผู้ผลิตยังไม่มีความแตกต่างด้านเทคโนโลยีบรรจุไว้ในเครื่องยนต์มากนัก การใช้ซีซีเป็นพื้นฐานในการเดาความแรงแบบคร่าวๆ ยังพอบอกได้ว่าเครื่องยนต์ซีซีน้อยจะมีกำลังต่ำกว่า เครื่องยนต์ที่มีซีซีมาก แต่ในยุคปัจจุบันเป็นคนละเรื่องกัน
การเดากำลังของเครื่องยนต์จากซีซี ไม่ใช่เรื่องที่แม่นยำ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของเทคโนโลยี เช่น เครื่องยนต์ 2,000 ซีซี แคมชาฟท์เดี่ยว 8 วาล์ว คาร์บูเรเตอร์ เป็นไปได้ที่จะมีกำลังต่ำกว่าเครื่องยนต์ 1,800 ซีซี ที่พกเทคโนโลยีมาเพียบ ทวินแคม 16 วาล์ว หัวฉีด เทอร์โบ
ความทนทาน
ตามพื้นฐานของเครื่องยนต์ยุคเก่าเมื่อกว่า 10-20 ปีที่แล้ว ชิ้นส่วนต่างๆ ไม่ค่อยทนทาน และน้ำมันเครื่องยังมีคุณภาพไม่สูงมาก จึงมีมาตรฐานกลายๆ ว่า เครื่องยนต์จะหลวมเมื่อผ่านการใช้งานไป 100,000-150,000 กิโลเมตร มาตรฐานนี้สมควรถูกลบล้างไป เนื่องจากเครื่องยนต์ยุคนี้มีความทนทานขึ้นมาก หากได้รับการดูแลรักษาที่ดี อายุการใช้งานโดยเฉลี่ยมักเกิน 250,000 กิโลเมตร เครื่องยนต์บางรุ่นทนทานเกิน 400,000 กิโลเมตร
เครื่องยนต์หลวม
เรา สามารถสังเกตได้จากความผิดปกติได้คือ 1. กินน้ำมันเครื่องมากไหม ระยะทาง 3,000 กิโลเมตร ไม่ควรพร่องเกินครึ่งลิตร2. มีควันสีขาวออกทางท่อไอเสียไหม 3. ท่อไอเสียชื้นฉ่ำด้วยคราบน้ำมันเครื่องไหม
แต่อย่าเพิ่งสรุป เพราะอาการหลักของเครื่องยนต์หลวม คือ แหวน-กระบอกสูบ-ลูกสูบหลวม ทำให้แรงตก และน้ำมันเครื่องเล็ดลอดผ่านแหวนลูกสูบเข้าสู่ห้องเผ าไหม้ และเผาไหม้ออกมาเป็นควันสีขาว ทำให้กินน้ำมันเครื่อง
แต่การที่น้ำมัน เครื่องสามารถเล็ดลอดเข้าสู่ห้องเผาไหม้ อาจมาจากอีกทาง คือ ยางตีนวาล์ว (หรือหมวกวาล์ว) หมดสภาพทำให้น้ำมันเครื่องไหลผ่านก้านวาล์วไอดีลงมาใ นห้องเผาไหม้ได้ กรณีนี้ต้องวัดกำลังอัดในกระบอกสูบด้วยเครื่องมือ เพราะการซ่อมแซมจะเกี่ยวกับส่วนของฝาสูบเท่านั้น แหวนลูกสูบยังไม่หลวม
น้ำมันเครื่อง
ไม่ได้ทำหน้าที่แค่การหล่อลื่น ยังช่วยระบายความร้อน ป้องกันสนิม และทำความสะอาดภายในเครื่องยนต์อีกด้วย การใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพต่ำ หรือละเลยต่อการเปลี่ยนถ่าย อาจไม่ส่งผลชัดเจนในทันที แต่แน่นอนว่าเครื่องยนต์จะหลวมเร็วขึ้น และกำลังอาจลดลงบ้าง

เครื่องยนต์หัวฉีด
เมื่อ มีปัญหาเกิดขึ้น อย่ารีบสรุปลงไปที่กล่องอีซียูเสีย เพราะไม่ได้เสียกันง่ายๆ ควรตรวจสอบเป็นจุดๆ ไป พื้นฐานปัญหาก็มีเหมือนกับเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์ คือ หัวเทียนบอด ไส้กรองตัน วาล์วรั่ว สายหัวเทียนขาดใน  ปั๊มเสีย ฯลฯ
โมดิฟาย
เพิ่มจาก 2 ทางเลือกหลัก คือ 1. เปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ เหมาะกับรถยนต์ญี่ปุ่น เพราะมีเครื่องยนต์และอะไหล่เก่าจากญี่ปุ่นจำนวนมาก 2. ปรับแต่งเครื่องยนต์เดิม เหมาะสำหรับรถยนต์ยุโรป ที่เครื่องยนต์เก่าราคาแพง
หาก เลือกแต่งแบบเบาะๆ กับเครื่องยนต์เดิม ไม่หนักหน่วงถึงขนาดติดตั้งเทอร์โบ ก็ทำได้แค่ภายนอกเครื่องยนต์ เช่น เปลี่ยนไส้กรองอากาศ หัวเทียน สายหัวเทียน เฮดเดอร์-ท่อไอเสีย รวมกันแล้วไม่น่าได้กำลังเพิ่มขึ้นเกิน 5-10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น !
ไส้กรองอากาศ หากตัน แรงตก กินน้ำมัน
ถ้าหมดอายุและปล่อยให้ฝุ่นละอองรั่วเข้าสู่เครื่องยนต์ไ ด้ นอกจากแหวน-ลูกสูบ-กระบอกสูบจะสึกหรอเร็วกว่าปกติ ยังมีผลทำให้น้ำมันเครื่องสกปรกและหมดอายุเร็วขึ้น เพราะฝุ่นละอองเล็ดลอดผ่านแหวนลูกสูบลงไปผสมกับน้ำมั นเครื่องด้านล่าง
สายพานไทม์มิ่ง
สายพานไทม์มิ่งหรือสายพานราวลิ้น เป็นสายพานขับเคลื่อนแคมชาฟท์ของเครื่องยนต์ที่มีแคม ชาฟท์เหนือฝาสูบเครื่องยนต์ทุกรุ่นไม่ได้ใช้ระบบนี้เสมอไป อาจใช้โซ่โลหะแทน แต่ถ้าใช้ระบบสายพานไทม์มิ่งซึ่งมีส่วนผสมของยาง อายุการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้เฉลี่ย 100,000 กิโลเมตร แต่นั่นเป็นมาตรฐานในต่างประเทศที่อากาศไม่ร้อนจัด การจราจรไม่ติดขัดมากการ ใช้งานในเมืองไทย ถ้าใช้ในกรุงเทพฯ การจราจรติดขัด เครื่องยนต์หมุนตลอดเวลา แต่ระยะทางไม่ค่อยขึ้น ควรเปลี่ยนที่ 50,000-60,000 กิโลเมตร ต่างจังหวัดจราจรไม่ติดขัด ควรเปลี่ยนที่ 60,000-80,000 กิโลเมตร เพราะถ้าสายพานไทม์มิ่งขาด จะเกิดความเสียหายมาก เช่น วาล์วคด ลูกสูบร้าว ฯลฯ

ขอบคุณข้อมูลจาก : BMW E46 Thailand

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น